• #NewNormalสำหรับจัดงานอีเวนต์

MR.Team Productions และ I-Magic Co.,Ltd.

จัดแปล “คู่มือแนวทางในการกลับมาเปิดให้บริการอีกครั้งอย่างปลอดภัย” ฉบับภาษาไทย

New Normal สำหรับจัดงานอีเวนต์

+

เพื่อเป็นอีกข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการประกอบการทำงานด้านการจัดงานคอนเสิร์ตและอีเวนต์ในรูปแบบ New Normal ทาง บริษัท มิสเตอร์ทีม โปรดัคชั่นส์ จำกัด และ บริษัท ไอ-เมจิค จำกัด ได้จัดแปล “คู่มือแนวทางในการกลับมาเปิดให้บริการสำหรับผู้ประกอบการงานประเภทอีเว้นท์ภายในสถานการ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า (COVID19)” ฉบับภาษาไทย จาก THE EVENT SAFETY ALLIANCE REOPENING GUIDE โดย Steve A. Adelman รองประธานกลุ่มพันธมิตรเพื่อความปลอดภัยธุรกิจประเภทอีเวนต์ (Event Safety Alliance-ESA)

สำหรับ THE EVENT SAFETY ALLIANCE REOPENING GUIDE เป็นความร่วมมือระหว่างองค์กรผู้ประกอบการที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานอีเวนต์ โดยมุ่งช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ตกอยู่ในสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ได้ใช้เป็นแนวทางก่อนกลับมาจัดงานได้อีกครั้ง ซึ่งทางผู้จัดทำได้บอกไว้เบื้องต้นแล้วว่า คู่มือฉบับนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของการจัดงานอีเวนต์ทุกขนาดเพื่อการใช้งานจริง

ภายในคู่มือประกอบไปด้วย 8 หัวข้อหลัก

  1. การวางแผนสำหรับกำหนดการเปิดให้บริการ: ช่วงเวลาที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฏหมาย

“การตัดสินใจอย่างระมัดระวังเป็นเรื่องสำคัญ…ยิ่งมีความกระตือรือร้นในการกลับไปทำงานตามปกติมากเท่าใด การตัดสินใจเกี่ยวกับการเปิดให้บริการนั้น ยิ่งมีความจำเป็นต้องประเมินความสามารถในการรับมือของบุคคลตามความเป็นจริงมากขึ้นเพื่อการดำเนินการอย่างปลอดภัย”

2.ความรู้ของกลุ่มลูกค้า

เพื่อการเปิดบริการอีกครั้งอย่างปลอดภัย หลักสำคัญคือทั้งกลุ่มลูกค้าและผู้ปฏิบัติงานต่างจำเป็นต้องทำหน้าที่ของตน และร่วมมือกัน นอกเหนือจาก “ข้อกำหนดและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพ” แล้ว คือ “การสื่อสาร” ช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้านั้น จำเป็นต้องมีการส่งข้อความให้ชัดเจน 1.เพื่อให้กลุ่มลูกค้าเรียนรู้ถึงกฏใหม่สำหรับการปกป้องพวกเขา และ 2.เพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการปฏิบัติด้านสุขภาพและความปลอดภัยอย่างโปร่งใสเพื่อเชื้อเชิญให้บุคคลกลับคืนสู่พื้นที่สาธารณะตามปกติ

“ก่อนเปิดบริการอีกครั้ง ผู้จัดการจำเป็นต้องเพิ่มเติมข้อกำหนดและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับสุขภาพ อาทิเช่น การเว้นระยะห่างทางสังคม /การปกปิดใบหน้า/การเพิ่มระยะเวลาการรอคอย ทั้งนี้ไม่มีข้อมูลเฉพาะใดที่เป็นข้อมูลทีดีที่สุด เช่นเดียวกับการสื่อสารข้อความปลอดภัยที่ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือ การปฏิบัติที่ดีและการแบ่งสัดส่วนที่เหมาะสม…”

“…ควรจัดให้มีการสื่อสารทุกช่องทางไปยังลูกค้า/ผู้เข้าร่วมงาน เท่าที่เป็นไปได้ ทั้งเวบไซต์สถานที่จัดงาน-ศิลปิน/โซเชียลมีเดียสถานที่จัดงาน-ศิลปิน/เว็บไซต์จำหน่ายตั๋ว/อีเมล์แจ้งเตือนลูกค้า/แอพมือถือ/ป้ายหน้างาน/จุดลงทะเบียน ฯลฯ”

 

3.สุขภาพและอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน

“ผู้ประสานงานสำหรับลดการติดเชื้อ” ถือว่ามีบทบาทสำคัญอย่างมากในการจัดการกับความเสี่ยงของสถานการณ์โรคที่เกิดขึ้นภายในสถานที่จัดงานกิจกรรมต่าง ๆ นอกจากดูแลตนเองแล้วต้องดูและผู้มาชมงานด้วย ดังนั้นควรต้องได้รับการอบรมแผนด้านสุขภาพและความปลอดภัย เพื่อประสานงานและช่วยเหลือ, ปฏิบัติใกล้ชิดกับผู้จัดงานอีเวนต์/เจ้าหน้าที่สถานที่ ฯลฯ

 

4.สุขอนามัยของสถานที่

-การทำความสะอาดบริเวณที่มีการสัมผัสมาก ตั้งแต่บริเวณโถงกลาง ทางเดิน บริเวณรับประทานอาหาร ไปจนถึงห้องน้ำ ห้องพักนักแสดง และบริเวณเตรียมอาหาร

-แนะแนวทางการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

 

5.การเข้าและออกพื้นที่

ควรสอดคล้องกับข้อแนะนำด้านสุขภาพที่ได้รับอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่การรับตั๋วครั้งแรกหรือการรับข้อมูลผ่านสื่อโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่

  • จุดบริการล้างมือ ตรวจสอลมีทั้งน้ำ/สบู่ หรือแอลกอฮอล์สำหรับฆ่าเชื้อความเข้มข้นครบเพียงพอ
  • ที่จอดรถ เว้นระยะห่างไม่หนาแน่น
  • จองคิวผ่านออนไลน์เพื่อเข้าชมอย่างปลอดภัย/จุดจำหน่ายตั๋วมีกระจกกั้น ส่วนผู้ให้บริการใส่หน้ากาก หรือใช้บริการทางออนไลน์แทน

ข้อกำหนดด้านพื้นที่

-การต่อแถว เว้นระยะห่าง 2 เมตร หรือ 4 ตรม. ต่อกลุ่มลูกค้า

-สถานที่สำหรับต่อแถว แยกทางเข้าคนเดินเท้ากับรถยนต์ออกจากกัน

-ต่อแถว กำหนดตำแหน่งการยืนบนพื้น

การคัดกรอง จัดชุดวัดอุณหภูมิและคัดกรองสุขภาพให้พร้อม

  • ตรวจสัมภาระ ให้ลูกค้าเปิดกระเป๋าด้วยตนเอง หรือแจ้งห้ามล่วงหน้าดีที่สุด
  • ตรวจจับโลหะ เดินผ่านเครื่องตรวจจับโลหะมีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากกว่า แล้วตรวจซ้ำสำหรับลูกค้าที่มีการตรวจพบโลหะซ้ำ ๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานต้องสวมใส่ถุงมือ หน้าการอนามัยให้พร้อม หลังตรวจค้นเสร็จสิ้นให้ล้างมือฆ่าเชื้อ
  • ตรวจตั๋วเข้าชม แบบออนไลน์/สแกนสะดวกปลอดภัยมากขึ้น

ในกลุ่มผู้ที่มีความต้องการพิเศษ เช่น ผู้พิการ จัดให้มีพื้นที่รองรับ หรือจัดผู้ปฏิบัติงานเฉพาะทาง กรณีผู้มีความพิการทางการได้ยินที่ต้องการอ่านคำพูดจากริมฝีปาก ผู้ปฏิบัติงานควรสวมหน้ากากอนามัยที่มีช่องใสบริเวณริมฝีปากเพื่อให้มองเห็นได้

  • ตารางเวลาการออกจากพื้นที่ ควรมีการจัดการทางออกที่เป็นระบบให้ผู้ชมทะยอยออกได้

 

6.บริเวณด้านหน้าสถานที่ อาหาร-เครื่องดื่ม และบริเวณการค้าขาย

เหมาะสม เพียงพอ ทั้งห้องน้ำ, บริเวณนั่งรอควรมีที่กั้น และรักษาระยะห่าง

ช่วงหยุดพักควรมีเวลามากขึ้นเพื่อป้องกันการแออัด

 

  1. ปัญหาของฝ่ายผลิตงาน

-การแบ่งอำนาจหน้าที่รับผิดชอบให้ชัดเจน

-การจองสถานที่สำหรับกิจกรรม

-การเว้นระยะห่างทางสังคมของศิลปิน ไม่น้อยกว่า 6 ฟุตหรือ 3 เมตร/บุคคล รวมถึง “ตำแหน่งของศิลปิน” ในการแสดงดนตรีด้วย เพราะโดยทั่วไปศิลปินมักมีระยะการหายใจเข้าและออกที่มากกว่าคนทั่วไป

-การจัดการกับอุปกรณ์การใช้งาน ควรได้รับการฆ่าเชื้อ, สายงานผลิตควรสวมถุงมือและหน้ากากอนามัย, อุปกรณ์ที่มีการสัมผัสบ่อยครั้ง เช่น ตัวควบคุมมอเตอร์ ไมโครโฟน ขาตั้งไมโครโฟน ฯลฯ ควรมีการฆ่าเชื้อบ่อยครั้ง และควรใช้สำหรับผู้ใช้งานเพียงคนเดียวหากเป็นไปได้

– อุปกรณ์รับน้ำหนักสูง เช่น รถยก ลิฟต์บูม และลิฟต์ยก ควรลดจำนวนผู้ปฏิบัติงานของอุปกรณ์แต่ละชิ้นลงให้น้อยที่สุด

 

  1. ปัญหาด้านกฏหมาย

ปัญหาหนึ่งอาจพบได้คือ การเปิดเผยข้อมูลเมื่อมีการอ้างอิงถึงการติดเชื้อภายในสถานที่จัดกิจกรรมจากการเข้าร่วมหรือการทำงานภายในสถานที่

สำคัญคือ เบื้องต้นทุกฝ่ายสร้างสัญญาทางสังคมใหม่ระหว่างผู้ประกอบการจัดงานอีเวนต์-ผู้ดูแลสถานที่และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องแล้วรักษาการเว้นระยะห่างทางสังคม และปฏิบัติตามคำแนำนการฆ่าชเชื้ออย่างเหมาะสมภายใต้การระบาดของโรค ก็จะช่วยได้ตั้งแต่ต้น

“ความเสี่ยงเพียงเล็กน้อยในการแพ้คดีตามแนวทางปฏิบัติด้านสุขอนามัยที่ไม่เอาใจใส่แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้

ผู้ประกอบการจัดงานและสถานที่จัดงานควรใช้มาตรการด้านสุขภาพและความปลอดภัยที่เข้มงวดเพื่อเป็นการช่วยชวิตคนอื่น ๆ ไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการเปิดบริการของกิจกรรมอีเวนต์อื่นๆ อีกด้วย

 

 

สำหรับ Event Safety Alliance-ESA เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่อุทิศตนเพื่อรณรงค์ “ความปลอดภัยในชีวิตที่ต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง” ในทุกขั้นตอนของการผลิตและการจัดกิจกรรมอีเวนต์ต่าง ๆ ESA ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนงานกิจกรรมอีเวนต์ การรณรงค์ การผลิต และการแสดงต่าง ๆ ทั้งทางด้านดนตรี กีฬา รวมไปถึงกิจกรรมต่าง ๆ ของพันธมิตร ไม่ว่าจะเป็นด้านความปลอดภัย กฏหมาย การประกันภัย อุตนิยมวิทยา และการดูแลสุขภาพ ซึ่งคู่มือปฏิบัติการฉบับนี้ ทางผู้จัดทำได้รวบรวมคำแนะนำและแนวทางการปฏิบัติจากสาธารณสุขเป็นวัตถุดินในการสร้างข้อควรพิจารณาและข้อควรแนะนำผ่านการเรียบเรียงจากผู้จัดทำเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้อง www.eventsafetyalliance.org

ติดตามฉบับภาษาไทยได้ที่

https://www.facebook.com/mrteamproductions/

 

หรือดาวน์โหลดไฟล์ได้ที่ลิงค์

https://www.dropbox.com/s/eqp8booex04qov1/%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3-03-06-2020%5B1%5D.pdf?dl=0&fbclid=IwAR03kbNhIGXBpDU4LdoemAgw3cJeYAcCdxfYpeWcxl0l7uczV6DSlXB3TC0

แสดงความคิดเห็น