Born to be Sound Engineer

ขอทักทายท่านผู้อ่านนิตยสารซาวด์ไดเมนชั่น ด้วยคำว่า “สวัสดี” นับเป็นการเปิดตัวคอลัมน์นี้เป็นครั้งแรกด้วย  ก่อนจะเข้าสู่เรื่องราวอันเป็นสาระเกี่ยวกับที่มาของวิชาการว่าด้วยเรื่องราวของศาสตร์แห่งเสียง ผมเชื่อว่าแต่ละท่านย่อมมีประสบการณ์ด้านเสียง โดยเฉพาะที่ให้ความบันเทิงแตกต่างกันออกไปตามปูมหลังตั้งแต่เยาว์วัย จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่

เสียงที่ผมได้สัมผัสตั้งแต่ยังเด็กคือหนังกลางแปลงที่มีระบบเสียงในที่โล่งแจ้ง มิติอยู่ที่ไหนไม่ต้องสนใจ แค่ได้ยินเสียงควบม้า เสียงยิงกันสนั่นทุ่ง และเสียงพากษ์สนุก ๆ ของนักพากษ์  ที่มีแค่คนเดียวแต่ทำเสียงเป็นตัวละครได้ทุกตัว กว่าจะได้ดูหนังในโรงก็โตขึ้นมาอีกหน่อย ดูครั้งแรกก็ตื่นเต้นจนแทบนอนไม่หลับ เพราะได้เห็นภาพสวย ๆ เต็มตา ระบบเสียงก็ดีกว่าหนังกลางแปลงชนิดไม่เห็นฝุ่น

ต่อมาก็ได้พบเห็นระบบเสียงสำหรับการแสดงอีกหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงคอนเสิร์ตกลางแจ้ง ระบบเสียงในโรงละคร เวลาไปเดินที่สวนสนุกในต่างประเทศก็ให้ความรู้สึกประหลาดใจที่เขาสามารถกระจายเสียงบอกเล่าโปรแกรมการละเล่นต่าง ๆ ให้ผู้คนที่เดินอยู่ตามมุมอาคาร ตามทางเดินเป็นร้อยเป็นพันคนได้อย่างทั่วถึง โดยเสียงไม่ดังบาดหูเลย เหล่านี้คือความตื่นหูตื่นใจไปกับความมหัศจรรย์แห่งเสียงอยู่ในความทรงจำส่วนลึก

ผมจึงอยากนำท่านไปรู้จักกับที่มาของศาสตร์แห่งเสียง จากบรรดานักทดลอง นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์ที่ช่วยกันกรุยทาง บุกเบิกเส้นทางอันแสนขรุขระคดเคี้ยวกว่าจะเป็นระบบเสียงอันซับซ้อนให้เราได้เพลิดเพลินกันในทุกวันนี้ และจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม เราจะต้องสัมผัสกับผลงานของพวกเขาเสมอ ไม่ว่าจะเป็นระบบเสียงในห้องประชุม ในสนามกีฬา ในห้องอาหารทั้งใหญ่และเล็ก หรือแม้แต่ระบบเสียงในโฮมเธียเตอร์ก็ตาม

อ่านต่อฉบับเต็ม

กรุณาเข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน สมัครสมาชิกฟรี!!

แสดงความคิดเห็น